Accessibility Tools

ศาลจังหวัดชุมพร
Chumphon Provincial Court
image

ศาลจังหวัดชุมพร

การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องimage

ยื่นความประสงค์ : 

1.  คลิก    
2. ยื่นด้วยตนเองที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ศาลจังหวัดชุมพร โทร 077 529 900 ต่อ 2605
การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง : 
     การไุกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง คือ การดำเนินการเพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงกันและระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาโดยสันติและปราศจากการวินัจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี
ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง :
      1. คู่กรณีสามารถขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องได้ด้วยตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ศาลให้คำแนะนำและช่วยเหลือ
      2. การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการน้อยกว่าการฟ้องคดีต่อศาล
      3. คู่กรณีไม่มีสถานะเป็นโจทก์หรือจำเลย และไม่มีประวัติว่าถูกฟ้องคดีต่อศาล
      4. มีผู้ประนีประนอมประจำศาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อหาทางออกร่วมกัน
      5. สามารถรักษาสัมพันธภาพอันดีระหว่างคู่กรณี
      6. คู่กรณีสามารถเลือกวันนัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ด้วยตนเอง
      7. คู่กรณีสามารถเลือกดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยวิธีการทางออนไลน์
      8. หากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันสามารถยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมหากคู่กรณีผิดสัญญาประนีประนอมยอมความสามารถบังคับคดีใด้ทันที โดยไม่ต้องฟ้องคดีอีก
      9. กรณีที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสิ้นสุดลง โดยไม่เป็นผล ให้ขยายอายุความออกไปอีก 60 วัน นั้บแต่วันที่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสิ้นสุดลง
      10. กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องสามารถดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นและมีคำพิพากษาตามยอมจนจบกระบวนการได้ที่ศาลยุติธรรม  

ประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
     - สะดวก   ยื่นคำร้องได้หลายช่องทาง ไม่ต้องยืื่นฟ้องก็ไกล่เกลี่ยได้  
                   1. สามารถยื่นคำร้องได้ด้วยตนเองที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
                   2. สามารถยื่นออนไลน์ได้ที่ https://mediation.coj.go.th/index.php
     - รวดเร็ว  มีขั้นตอน กระบวนการไม่ยุ่่งยากซับซ้อน ใช้เวลาไม่นานก็ยุติข้อพิพาทได้
     - ประหยัด   ลดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่ายของคู่กรณี ในการดำดเินกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาล
     - เป็นธรรม   มีคนกลางช่วยเหลือในการเจรจา และอยู่ในความดูแลของศาลทุกกระบวนการ
     - มีผลบังคับ   หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงสามารถขอให้ศาลพิพากษาตามยอมได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
      
1. ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๕๔
      2. ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่่าด้วยการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง พ.ศ.2563
      3. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๓๒) พ.ศ. 2563 (มาตรา 20 ตรี)
      4. พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพ.ศ. ๒๕๖๒

ถาม-ตอบ ที่พบบ่อย ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจํารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี
      1. ถาม: ข้อพิพาทประเภทใดบ้างที่สามารถขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 ตรี ได้
         ตอบ: ข้อพิพาททางแพ่งทุกลักษณะโดยไม่จำกัดทุนทรัพย์ เช่น ซื้อขาย ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ละเมิด ยืม ค้ำประกัน จำนำ จำนอง ตั๋วเงิน ที่ดิน ขับไล่ มรดก หย่า สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร แบ่งสินสมรสเรียกค่าทดแทน เรียก ค่าเลี้ยงชีพ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจาก การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้างค้างจ่าย ฟ้องเรียก ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ เป็นต้น
      2. ถาม: ใครบ้างที่สามารถยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องได้
         ตอบ: บุคคลที่จะเป็นคู่ความ ซึ่งอาจจะเป็นประชาชน (บุคคลธรรมดา) หรือนิติบุคคลก็ได้
      3. ถาม: คำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องต้องทำในรูปแบบใด
         ตอบ: ทำเป็นหนังสือโดยระบุชื่อและภูมิลำเนาของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายละเอียดของข้อพิพาท (พอสังเขป) หรือใช้แบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมประกาศกำหนด
      4. ถาม: การยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องสามารถยื่นผ่านช่องทางใดได้บ้าง
         ตอบ: 1. ยื่นคำร้องด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หรือ
                2. ยื่นคำร้องผ่านเว็บไซต์ https://mediation.coj.go.th โดยการสมัครเป็นสมาชิกระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรมที่เรียกว่า CIOS ก่อน
      5. ถาม: คู่กรณีควรเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ยด้วยตนเองหรือไม่
         ตอบ: คู่กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาพึงเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ยด้วยตนเองส่วนคู่กรณีที่เป็นนิติบุคคลก็พึงแต่งตั้งตัวแทนที่มีอำนาจตัดสินใจและทำสัญญาประนีประนอมยอมความเข้าร่วมประชุมไกล่เกลี่ยเนื่องจากในวันประชุมไกล่เกลี่ยหากคู่กรณีตกลงกันได้ คู่กรณีต้องลงลายมือชื่อในข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและได้รับอนุญาตจากศาล
      6. ถาม: กรณีจะมีทนายความมาด้วยในวันประชุมไกล่เกลี่ยได้หรือไม่
          ตอบ: การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง คู่กรณีสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าคู่กรณีประสงค์จะมีทนายความมาด้วยในวันประชุมไกล่เกลี่ยก็สามารถทำได้
      7. ถาม: ในการทำข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือคู่กรณีต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเองหรือไม่
         ตอบ: เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องไปในทางมิชอบ ในการทำข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนังสือคู่กรณีต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง เว้นแต่เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและได้รับอนุญาตจากศาล
      8. ถาม: หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ที่จะขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการอย่างไร
         ตอบ: คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องยื่นคำขออย่างช้าในวันที่ทำข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความโดยแสดงเหตุผลความจำเป็นในการร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความถ้าศาลเห็นว่ากรณีมีความจำเป็นที่สมควรจะมีคำพิพากษาไปทันทีในเวลานั้นก็ให้ศาลมีคำพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความต่อไปได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่สมควรจะมีคำพิพากษาในเวลานั้น ก็ให้สั่งยกคำขอ
      9. ถาม: การยื่นคำร้องและการดำเนินการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 ตรี ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่
         ตอบ: การยื่นคำร้องและการดำเนินการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล และไม่มีค่าใช้จ่าย
      10. ถาม: หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย ผู้ประนีประนอม บุคคลภายนอก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไกล่เกลี่ยสามารถนำข้อมูลที่ได้มาระหว่างการไกล่เกลี่ยไปอ้างอิงหรือนำสืบเป็นพยานหลักฐานในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ หรือกระบวนพิจารณาของศาลได้หรือไม่
           ตอบ: คู่กรณีที่เข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย ผู้ประนีประนอม บุคคลภายนอก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไกล่เกลี่ยไม่สามารถนำข้อมูลที่ได้มาระหว่างการไกล่เกลี่ยไปอ้างอิง หรือนำสืบเป็นพยานหลักฐานในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ กระบวนพิจารณาในศาล เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
                 1. ความประสงค์หรือเต็มใจของคู่กรณีในการขอเข้าร่วมในการไกล่เกลี่ย
                 2. ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการในการระงับข้อพิพาทของคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย
                 3. การยอมรับหรือข้อความที่กระทำโดยคู่กรณีในการไกล่เกลี่ย
                 4. ข้อเสนอใด ๆ ที่เสนอโดยผู้ประนีประนอม
                 5. ข้อเท็จจริงที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะยอมรับข้อเสนอในการไกล่เกลี่ย
                 6. เอกสารที่จัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะใช้หรือใช้ในการไกล่เกลี่ยโดยเฉพาะ อนึ่ง พยานหลักฐานใดที่ใช้ในการไกล่เกลี่ย หากเป็นพยานหลักฐานที่นำสืบได้อยู่แล้วในกระบวนการอนุญาโตตุลาการกระบวนพิจารณาของศาล หรือเพื่อดำเนินการอื่นใด ย่อมไม่ต้องห้ามแต่ประการใด